Saturday, May 30, 2009
ไปฟอกปอดรับลมหนาวที่เขาใหญ่
ไปฟอกปอดรับลมหนาวที่เขาใหญ่
เมื่อลมหนาวมาเยือน มันเหมือนกับการรอคอยของใครบางคนสิ้นสุดลงด้วยความสมหวัง ลมหนาวของเมืองไทยมีเสน่ห์ที่สุดกว่าฤดูกาล เพราะเกือบทั้งปีเราต้องทนอยู่กับความร้อนที่แสนทรมาน ซึ่งนับ
วันจะเพิ่มมากขึ้นทุกปี จะไปโทษธรรมชาติไม่ได้เลย เพราะโลกร้อนและวิบัติเช่นทุกวันนี้เป็นฝีมือ
มนุษย์เองแท้ๆ มนุษย์อย่างพวกเราคือตัวเชื้อโรคที่แท้จริง ไปอยู่ที่ไหนก็สร้างความวิบัติให้ที่นั่น เพราะ
ความเห็นแก่ตัว ทำทุกอย่างที่ให้ตัวเองมีความสุขสนานเพียงชั่วครู ชั่วยาม ในขณะเดียวกันก็ทำร้าย
ทำลายธรรมชาติไปด้วย เพียงไม่กี่ชั่วอายุคน ผลร้ายมันก็ตามมาสนองความมักง่ายและความเห็นแก
่ตัวที่มนุษย์สร้างขึ้นมาเอง ฉันเคยเดินทางขึ้นไปบนอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ป่าผืนใหญ่ที่อุดมสมบูรณ์ที่สุด อยู่ใกล้กรุงเทพฯ มากที่สุด ทุกครั้งที่ขึ้นมาเยือนเขาใหญ่ ก็นึกชื่นชมสิ่งผู้เกี่ยวข้องเขาต่อสู้ ปกป้องและอนุรักษ์ป่าผืนนี้เอา
ไว้ได้ดีพอสมควร จนบัดนี้เขาใหญ่ได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกไปแล้ว
เขาใหญ่ไม่มีหน้าร้อน ไม่ว่าบนพื้นราบจะร้อนอบอ้าวเพียงใหญ่ เมื่อคุณเดินทางขึ้นที่เขาใหญ่อากาศเย็นและความชุ่มชื้นจากพืชพันธุ์ไม้ป่าของเขาใหญ่จะทำให้คุณรู้สึกเหมือนได้เดินทางออกไปยังที่ ที่ไม
่เหมือนประเทศไทยที่มีฤดูร้อนอันแสนหฤโหด ในช่วงเดือน เมษายน – พฤษภาคม เขาใหญ่จะได้รับ
อิทธิพลจากลมทะเลพัดเข้ามาปะทะ เทือกเขานี้ทางด้านทิศใต้แถบจังหวัดปราจีนบุรี เขาใหญ่ฝั่งด้านนี้จึงมีลมเย็นและอุณหภูมิไม่โหดร้าย
นัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณพื้นที่ใดที่เป็น “ร่องลม” คุณจะรู้สึกเหมือนที่ตรงนั้นเป็นสวรรค์ทีเดียว
สำหรับหน้าหนาว ไม่ต้องบรรยายสรรพคุณอะไรกันมาก หน้าหนาวบนเขาใหญ่เป็นที่ปรารถนาของทุกคนอากาศหนาวเย็นไม่ต่างจาก
เมืองเหนือที่ทุกคนใฝ่ฝัน แต่เขาใหญ่อยู่ใกล้พอที่ทุกคนสามารถเอื้อมถึงสิ่งที่เป็นปัญหาอุปสรรคอย่างหนึ่งก็คือ เขาใหญ่ไม่มีที่พักมากที่จะ
รองรับความต้องการของผู้คน แม้จะเป็นที่กางเต้นท์ก็ตาม ห้องน้ำ ห้องอาหารดูคับแคบแออัดจนหลายคนทนไม่ได้ ฉันเคยขึ้นไปเห็นม
ากับตา และเคยพบรถติดบนเขาใหญ่เป็นชั่วโมงอย่างไม่น่าจะเป็นไปได้ ใจหนึ่งก็นึกว่าน่าจะเปิดเขาใหญ่ให้มีบริการอำนวยความสะดวก
ให้นักท่องเที่ยว อีกใจหนึ่งก็คิดว่าเก็บไว้แบบอนุรักษ์อย่างนี้ดีแล้วขืนปล่อยให้มีโรงแรม รีสอร์ทที่พักกันตามสบาย อีกไม่นาน เขาใหญ่ก็คงวิบัติเหมือนแหล่งท่องเที่ยวชั้นนำทุกแห่งของไทย เพราะคนไทยไม่ว่าจะเป็นนักธุรกิจหรือนักท่องเที่ยวยังไม่ค่อยรู้คุณค่าของการท่องเที่ยวแบบอนุรักษ์เท่าไร ไปที่ไหนก็มักจะพยายาม “เอาให้คุ้ม” นั่นคือล่อกันเสียเละ ไม่ใช่มองโลกในแง่ร้าย ฉันเห็นการกระทำเหล่าน
ั้นมากับตา คิดแล้วก็เห็นว่าให้เขาเก็บเขาใหญ่ไว้แบบนี้แหละดี ลูกหลานจะได้มีโอกาสเห็นเขาใหญ่อย่างที่คนรุ่นเราได้เห็นในวันนี้ มาเขาใหญ่เที่ยวนี้ฉันพาครอบครัวและกลุ่มเพื่อนผู้รักการเดินทางมาพักที่ “ริมภู การ์เด้น รีสอร์ท” รีสอร์ทใหม่ ออกปากทางขึ้นเขาใหญ่
ด้านจังหวัดปราจีนบุรี เดินทางจาก กทม.ชั่วโมงเศษเท่านั้น ฉันออกจะแปลกที่เห็นสถานที่แห่งนี้รักษาความเป็นธรรมชาติ สงบเงียบ แล
ะสะอาดสะอ้านมาก ทั้งๆ ที่อยู่ใกล้ชุมชนที่เจริญแล้วของอำเภอเมืองจังหวัดปราจีนบุรีเมื่อมีโอกาสคุยกับเจ้าของรีสอร์ทก็พบว่า เขาเป็นนั
กอนุรักษ์ธรรมชาติตัวยง รีสอร์ทตั้งอยู่ในสวนผลไม้ขนาด 70 ไร่ เป็นสวนชีวะภาพ ไม่มีสารเคมี ไม่มียาฆ่าแมลง ไม่มีการยิงนกตกปล
ในพื้นที่รีสอร์ททั้งหมด ตื่นเช้าขึ้นมาฉันจึงได้ยินเสียนกนานาชนิดเซ็งแซ่ไปหมด ตกกลางคืนก็มีแต่หริ่งเรไร เงียบสงบและเป็นธรรมชาต
ิอย่างที่ไม่คิดว่าจะได้พบบรรยากาศเช่นนี้
อากาศในเดือนหนาว หนาวเย็นสมชื่อจริงๆ พอตกเย็นเขาก่อ กองไฟให้เรากินข้าวเย็น ทำให้บรรยากาศโรแมนติกมีเพลงแจ๊สเก่าๆ ในยุค 50-60 ทั้งอังกฤษและฝรั่งเศสฟังรื่นหู ฉันเดาเอาว่าเจ้าของรีสอร์ทแห่งนี้เขาทำรีสอร์ทตามที่ใจตัวเองชอบ และก็หวังว่าจะมีคนไม่น้อยที่นิยมชมชอบบรรยากาศแบบเดียวกันนี้ อย่างน้อยก็ทำให้ฉันและพรรคพวกทุกคนหลงไหลได้ปลี้มละ เมื่อมีโอกาสคุยกัน เขาเล่าให้ฟังว่า ที่นี่ต้องการความสงบและความเป็นธรรมชาติ ประเภทอึกทึกคงไม่เหมาะเพราะไม่อยากให้รบกวนนก รบกวนจิ้งหรีด และแขกที่ต้องการมาสัมผัสธรรมชาติ ภายในห้องพักทุกห้องเป็นเขตปลอดบุหรี่ พูดง่ายๆ ก็คือห้ามหรือขอร้องไม่ให้สูบบุหรี่ภายในห้องนอนนั่นเอง เรื่องนี้ถูกใจฉันมาก เพราะฉันเป็นคนแพ้บุหรี่ตัวยง เวลาเข้าพักในสถานที่ที่ปล่อยให้มีการสูบบุหรี่ละก็ จะเป็นจะตายให้ได้ทีเดียว ขณะนี้มีคนมาพักที่ ริมภู มากขึ้น ทั้งๆ ที่เขายังไม่ได้ทำการเปิดอย่างเป็นเรื่องเป็นราว คนส่วนใหญ่รู้จักที่นี่เพราะเพื่อนบอก ถ้าคุณจะมาเที่ยวเขาใหญ่และชอบบรรยากาศที่ฉันเล่าให้ฟังนี้ คุณโทรไปจองห้องพักของ “ริมภู การ์เด้น รีสอร์ท” ได้ที่ 01-3066760 หรือ 02-6415333-7 ต่อ 123
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
No comments:
Post a Comment