อุทยานแห่งชาติเขาคิชฌกูฏ
เป็นของคนไทยทุกคน โปรดช่วยกันรักษาไว้ให้ลูกหลานของเรา
ข้อมูลทั่วไป
ระหว่างวันที่ 16 มกราคม – 16 มีนาคม 2553 อุทยานแห่งชาติเขาคิชฌกูฏ ขอเชิญชวนนักท่องเที่ยวขึ้นชมยอดเขาพระบาท เพื่อนมัสการรอยพระพุทธบาท ชมทิวทัศน์ และหินรูปร่างแปลกตาต่างๆ และจะทำการบวชชีพราหมณ์ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 – 5 มกราคม 2553 พิธีบวงสรวงเปิดป่า วันที่ 14 มกราคม 2553
อุทยานแห่งชาติเขาคิชฌกูฏ อยู่ในบริเวณพื้นที่ป่าเขาคิชฌกูฏหรือเขาพระบาท ท้องที่อำเภอมะขาม และกิ่งอำเภอเขาคิชฌกูฏ จังหวัดจันทบุรี ประกอบด้วยภูเขา ทิวทัศน์ที่งดงาม มียอดเขาสูงสุดอยู่ในระดับความสูง 1,000 เมตร มีสภาพธรรมชาติที่สวยงาม เช่น น้ำตกกระทิง และปรากฏการณ์ทางธรณีวิทยาที่เกี่ยวเนื่องกับตำนานทางพุทธศาสนา โดยเฉพาะในด้านความเชื่อถือทางศาสนาเกี่ยวกับรอยพระพุทธบาทบนยอดเขาคิชฌกูฏ มีเนื้อที่ประมาณ 58.31 ตารางกิโลเมตร หรือ 36,444.05 ไร่
เมื่อปี พ.ศ. 2501 นายกนิยมไพรสมาคม ได้มีหนังสือถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร เสนอให้รักษาป่าเขาคิชฌกูฏ ท้องที่จังหวัดจันทบุรี ไว้เป็นแหล่งอาศัยของสัตว์และจัดให้เป็นอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้จึงให้ป่าไม้เขตศรีราชาประสานงานกับป่าไม้จังหวัดจันทบุรีดำเนินการ และได้มีคำสั่ง ที่ 852/2517 ลงวันที่ 30 กรกฎาคม 2517 ให้นายสมพล วรรณกุล นักวิชาการป่าไม้เอก ไปดำเนินการสำรวจหาข้อมูลเบื้องต้น ซึ่งผลการสำรวจ ตามรายงานการสำรวจลงวันที่ 16 มิถุนายน 2518 พบว่า สภาพพื้นที่เป็นภูเขาสลับซับซ้อน มีสภาพทางธรรมชาติสวยงาม ประกอบด้วย ถ้ำ น้ำตก และมีสัตว์ป่าชุกชุม เหมาะกับการจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ
กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ จึงได้เสนอคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ ซึ่งได้มีมติการประชุมครั้งที่ 2/2518 เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2518 เห็นสมควรให้ออกพระราชกฤษฎีกากำหนดพื้นที่ป่าเขาคิชฌกูฏให้เป็นอุทยานแห่งชาติ
กรมป่าไม้จึงได้ดำเนินการขอเพิกถอนป่าเขาคิชฌกูฏ ซึ่งมีสถานภาพเป็นป่าสงวนแห่งชาติ ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 49 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 82 ตอนที่ 39 ลงวันที่ 11 พฤษภาคม 2508 ออกจากการเป็นป่าสงวนแห่งชาติก่อน โดยมีประกาศไว้ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 93 ตอนที่ 108 ลงวันที่ 7 กันยายน 2519
ต่อมาดำเนินการจัดตั้งป่าเขาคิชฌกูฏเป็นอุทยานแห่งชาติ โดยได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าเขาคิชฌกูฏ ในท้องที่ตำบลตะเคียนทอง ตำบลฉมัน ตำบลพลวง และตำบลวังแซ้ม อำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี เนื้อที่ 36,687 ไร่ หรือ 58.70 ตารางกิโลเมตร ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ โดยประกาศไว้ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 94 ตอนที่ 38 ลงวันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2520 เป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 14 ของประเทศไทย
ต่อมาได้มีพระราชกฤษฎีกาเพิกถอนเนื้อที่บางส่วน จำนวน 242.95 ไร่ โดยประกาศไว้ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 115 ตอนที่ 64 ก ลงวันที่ 24 ก.ย.2541 จึงคงเหลือพื้นที่อุทยานแห่งชาติเขาคิชฌกูฏ 36,444.05 ไร่ หรือ 58.31 ตารางกิโลเมตร
ลักษณะภูมิประเทศ
ลักษณะภูมิประเทศโดยทั่วไปเป็นภูเขาสูงชัน เนื่องจากการดันตัวของเปลือกโลก หินฐานเป็นหินอัคนีพวกหินแกรนิต ยุคจูแรสสิค มีอายุประมาณ 135-180 ล้านปี ทางด้านทิศตะวันออกจะมีความลาดชันมาก แนวสันเขาวางตัวไปในแนวตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ เชิงเขาด้านตะวันออกเฉียงใต้มีความลาดชันน้อย มียอดเขาพระบาทเป็นภูเขาสูงสุด สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,085 เมตร มีที่ราบอยู่ทางทิศตะวันตกเพียงเล็กน้อย บนเขาพระบาทมีหินก้อนใหญ่ลักษณะกลมเกลี้ยงกระจายอยู่ทั่วไป โดยเฉพาะบริเวณรอยพระพุทธบาทมีหินก้อนใหญ่มาก สามารถมองเห็นได้จากพื้นราบนอกเขตอุทยานแห่งชาติ เทือกเขาสูงในอุทยานแห่งชาติเขาคิชฌกูฏเป็นแหล่งต้นน้ำลำธารของลำห้วยที่สำคัญ เช่น คลองกระทิง คลองตะเคียน คลองทุ่งเพล คลองพลวง เป็นต้น ลำน้ำเหล่านี้เป็นแหล่งต้นน้ำที่สำคัญของแม่น้ำจันทบุรี
ลักษณะภูมิอากาศ
ลักษณะภูมิอากาศบริเวณอุทยานแห่งชาติเขาคิชฌกูฎอยู่ภายใต้อิทธิพลของลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ และลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ โดยช่วงตั้งแต่กลางเดือนตุลาคมถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์อากาศหนาวเย็น ท้องฟ้าโปร่ง ในช่วงกลางเดือนพฤษภาคมถึงกลางเดือนตุลาคมจะมีความชื้นในอากาศสูง เกิดเมฆและฝนตกหนัก ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยปีละ 2,900 มิลลิเมตร ช่วงฤดูร้อนระหว่างเดือนกุมภาพันธ์-เดือนเมษายน เป็นช่วงเวลาที่เปลี่ยนอิทธิพลจากลมตะวันออกเฉียงเหนือเป็นลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ อุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปี 27 องศาเซลเซียส
พืชพรรณและสัตว์ป่า
ระบบนิเวศในพื้นที่อุทยานแห่งชาติเขาคิชฌกูฎสามารถแบ่งออกได้หลักๆ 2 ประเภท คือ ป่าดิบชื้น ครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของอุทยานแห่งชาติ พันธุ์ไม้ที่ขึ้นอยู่ได้แก่ ยางแดง กระบาก หย่อง มะก่อ บุนนาค ลูกดิ่ง สารภี เนียนดำ มะไฟ จิกดง มะซาง ดีหมี เลือดควาย สำรอง กระบกกรัง ฯลฯ และป่าดิบเขา จะอยู่สูงจากระดับน้ำทะเลมากกว่า 800 เมตรขึ้นไป หรือจะพบเฉพาะบริเวณยอดเขา เช่น เขาพระบาทพลวง พันธุ์ไม้ที่พบได้แก่ มะก่อ กระบกกรัง สารภี บุนนาค ทำมัง พิมเสนป่า พลอง คอเหี้ย ชันใบใหญ่ รง พลับ อบเชย และดีหมี เป็นต้น
ในส่วนของสัตว์ป่า เนื่องจากสภาพป่าอยู่ในเขตเทือกเขาสูงชัน และประกอบกับราษฎรที่อาศัยอยู่ในบริเวณใกล้เคียงกับอุทยานแห่งชาติไม่ลักลอบล่าสัตว์ เพราะมีอาชีพที่เป็นหลักแหล่งและทำรายได้ดีอยู่แล้ว คือ การทำสวนผลไม้ สัตว์ป่าจึงยังมีชุกชุม ได้แก่ ช้าง กระทิง เสือปลา หมีควาย กวางป่า เก้ง เลียงผา หมูป่า ชะนีมงกุฎ เม่นใหญ่ อีเห็นข้างลาย พังพอนเล็ก กระต่ายป่า กระแต กระรอกหลากสี ค้างคาวแม่ไก่ภาคกลาง นกกระทาทุ่ง ไก่ฟ้าหลังขาวจันทบูรณ์ ไก่ป่า นกกวัก นกเขาเปล้า นกกระปูดใหญ่ นกตะขาบทุ่ง นกกก นกปรอดเหลืองหัวจุก นกแซงแซวหางปลา นกกางเขนดง นกกินปลีอกเหลือง เต่าเหลือง จิ้งจกหางหนาม ตุ๊แกบ้าน กิ้งก่าหัวแดง แย้ ตะกวด จิ้งเหลนบ้าน งูหลาม งูเขียวหางไหมท้องเหลือง คางคกบ้าน กบบัว ปาดบ้าน อึ่งอ่าง ฯลฯ ตามลำห้วยลำธารต่างจะพบปลาตะเพียนทราย ปลาซิวหางแดง ปลาสร้อยนกเขา ปลาชอนทราย ปลาติดหิน ปลากดเหลือง ปลาแป้น ปลาหมอไทย ปลาบู่ ปลากระทิง และปลากระทุงเหว เป็นต้น
การเดินทาง
การเดินทางมาเขาพระบาท ก็ต้องใช้เส้นทางใดก็ได้ทางหนึ่งไปให้ถึง เขตจ.จันทบุรี ข้าพเจ้าเดินทางด้วยรถตู้ จาก เลียบทางด่วนนเอกมัย - รามอินทรา เวลาเที่ยงคืน ขึ้นทางด่วนมุ่งตรงไปชลบุรี ด้วยสาย เอส วัน ตรงไปลงที่แยกบายพาสชลบุรี และก็เลี้ยวขวาไปยังเส้นทางมอร์เตอร์เวย์ ซึ่งจะพบสะพานข้ามแยก ให้มุ่งตรงไปจนถึงสะพานที่สองที่ด้านซ้ายมือจะเขียนว่าไป อ.แกลง แล้วก็เลี้ยวซ้ายไปยังถนนเส้นมุ่งไปพนัสนิคม - แกลง เมื่อถึงทางสามแยกก็จะเลี้ยวขวา มุ่งตรงไปยัง อ.แกลง ผ่านทิวทัศนืสวยสดงดงามด้วย สวนยางพารา เมื่อมุ่งตรงไปสุดๆก็จะพบสามแยกที่จันทบุรี (สามย่าน) ก็เลี้ยวซ้ายมุ่งตรงไปยัง อ.เขาคิชกูฌ ต่อไป ถ้าหากมีเวลาว่างขากลับค่อยมาเที่ยวชมที่ "ปากน้ำประแสร์ กราบไหว้ขอพรจากเสด็จเตี่ย" มุ่งตรงไปขึ้นเขาคิชกูฎ ถึงที่วัดพวงก็หาที่จอดพักรถเพื่อเตรี่ยมตัวเดินทางด้วยเท้า ไปซื้อตั๋วขึ้นเขา ชั้นที่ 1 ในราคา 50 บาทต่อ 1 ท่าน
สิ่งที่ต้องเตรียมมาก็คือ อย่างแรกเลย ใจค่ะ เพราะต้องเดินเท้าขึ้นเขา เตรียมรองเท้าผ้าใบมาด้วย และก็ ธูป กำใหญ่ๆ เทียน ก็ไม่ต้องเยอะมาก ห่อเล็กก็พอ และก็ดอกดาวเรือง เงินเหรียญบาท สัก 1000 บาท (เหรียญ 1 บาท 2 บาท 5 บาท 10 บาท) เพราะที่ทำบุญจะเยอะมาก เราไม่ต้องใส่มากค่ะ และ 5 บาท 10 บาท ก็พอ ผ้าดิบสีแดง(ซื้อร้านขายเครื่องสังฆทาน เมตรละ 30 บาทเอง แต่ใช้นิดเดียว แค่ 50 *25 ซม.ก็พอ พลอย 3ซอง (ประจำราศีเกิด) หาซื้อได้ที่ทางขึ้นเขา 3 ซอง 20 บาท ค่ะ
หมอกที่ชลบุรี หนามากๆ เกือบจะมองทางไม่เห็นต้องขับรถช้ามากๆ หรือนี่จะเป็นบททดสอบของความศรัทธา พอเข้าเขต จ.จันทบุรี ก็จะมีป้ายบอกทางไปจ้า ไม่ต้องกลัวหลง (ถ้าหลงก็กลับมาเริ่มต้นใหม่ได้)
ทางที่เห็นก็คือทางขึ้น-ลง เขา ซึ่งจะมีรถโดยสารบริการ 2 ต่อ ต่อละ50 บาท (ทั้งขาขึ้น-ขาลง รวมแล้วก็ 200 บาท/คน) ถ้าคิดว่าเดินไหวก็ลองเดินดูได้ค่ะ เพราะระหว่างทางเห็นมีวัยรุ่นเดินอยู่หลายกลุ่มเหมือนกัน แต่ละคนหน้าซีดเชียว
ขอบคุณข้อมูล จ่า นางเลื้ง
อยากไ้ด้คนรับจ้างขับรถกระบะสี่ประตูขึ้นเขาคิชกุฎ เป็นแฟนจัง แมนมาก เลย ขับรถได้หวาดเสียวสุด ๆ เก่งสุด ๆ เลย แลแข็งแรงดีด้วย มีหลายคนหน้าตาที่หน้าตาดี สเปคสุดๆ
ReplyDelete